วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 6






ให้นักศึกษาอ่านรายละเอียดของ พรบ. เ งินเดือน เงินวิทยะฐานฯ แล้วตอบคำถาม
1. พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 
2.พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2554 

1.พระราชบัญญัติเงินเดือนเงินวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ ประกาศใช้เมื่อใด
                พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗” ประกาศใช้เมื่อ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๔  ประกาศใช้เมื่อ   ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

2. ตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ข้อใด ไม่ใช่เงินเดือน
                ตำแหน่งที่ไม่มีใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ใช้บัญชีของข้าราชการพลเรือนเงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน

3.คณะรัฐมนตรีสามารถออก พระราชกฤษฎีกา เงินเดือนฯในภาวะค่าครองชีพสูงได้ในอัตราเท่าไร
 กระทรวงศึกษาธิการเสนอว่าเนื่องจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นข้าราชการที่ได้รับสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 5 มิถุนายน 2550 ในการที่จะได้ปรับอัตราเงินเดือนเป็นร้อยละเท่ากันทุกตำแหน่งในอัตราร้อยละ 4ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ประกอบกับบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปัจจุบันไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้รายได้สุทธิของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาลดลง สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญเป็นการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2549 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละเท่ากันทุกอันดับในอัตราร้อยละ 4 หากอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท

4.ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนเท่าไร และเมื่อได้รับครบกำหนดกี่ปีจึงจะได้รับการแต่ตั้งเป็นครู คศ.1 และรับเงินเดือนเท่าไร
               เงินเดือนครูผู้ช่วย ที่บรรจุด้วย วุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี  เมื่อบรรจุ จะได้รับเงินเดือน 7,940 บาท ถ้าผ่านการประเมิน เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว 2 ปี  จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 1 ขั้น 10,770 บาท ตามบัญชีแนบท้ายกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ.2553  แต่ต่อมาได้มีการปรับเงินเดือนใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2554 โดยมีผลบังคับใช้ ประกอบกับเงินเดือนขั้น 10,770 บาท ไม่มีในบัญชีเงินเดือนชั่วคราวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแนบท้ายหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.  จึงมีมติให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปรับเงินเดือนในขั้น 10,770 บาทไป และให้ใช้เงินเดือนในขั้น 11,000 บาท เป็นฐานสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือน 

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4




ให้นักศึกษาอ่านเนื้อหาแล้วตอบคำถาม
1.พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
2.พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎกระทรวง
ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)


1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 
   
         เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการโดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ไปจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการ บริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบกับสมควรให้มีคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนทรัพยากร ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
   ก. ผู้ปกครอง  ข.เด็ก  ค.การศึกษาภาคบังคับ  ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

         “ผู้ปกครอง  หมายความว่า  บิดามารดา  หรือบิดา  หรือมารดา  ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
         เด็ก  หมายความว่า  เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
         การศึกษาภาคบังคับ”  หมายความว่า  การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
         องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หมายความว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด


 3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
       
             ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่ง  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ที่พบเด็ก  แล้วแต่กรณีเพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา 
             สำหรับกรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายดังต่อไปนี้ 
             มาตรา  13  ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา  6  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
             มาตรา  14  ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 9  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
             มาตรา  15  ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร  กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียนในสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
             มาตรา  16  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  11   หรือแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ    ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท


4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
         
          o   อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ในพรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
          o   อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ  จัดการศึกษา  บำรุงศาสนา และ สืบสานศิลปวัฒนธรรม 
         o   การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
         o   การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้คำนึงถึง
              - คุณวุฒิ ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ
              - ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพงาน
         o   บทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องดำเนินการตาม พรบ. นี้คือ อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ    และ ตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งและหน่วยงาน
         o   การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง  ประกอบด้วย ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ,สำนักงานรัฐมนตรีและ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
         o   ส่วนราชการส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรี ไม่เป็นนิติบุคคล ส่วน  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคคล
         o   ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ คือ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         o   อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา คือ พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติพิจารณาเสนอนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษา   และพิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
         o   ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         o   คณะกรรมการสภาการศึกษา กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ. 2546
         o   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         o   หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คือ นิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อ การปรับปรุง ,ตรวจราชการ และศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
         o   หน่วยงานระดับที่สามารถมีผู้ตรวจราชการได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ,กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
         o   บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คือ ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมิน ผลการบริหารและการดำเนินงาน
         o   บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ  ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา และ ประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
         o   ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้จัด
         o   หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถจัดได้ หน่วยงานที่สามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ คือหน่วยงานดังต่อไปนี้ 
การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
       -  การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถพิเศษ
       - การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
        o   ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  และเลขาธิการ
        o   ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คือ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2




ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550


1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
        มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
        มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
       มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
      มาตรา ๘  องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้
     มาตรา ๓๐  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
2. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
     มาตรา30  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
      มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่ง และการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
     มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
     มาตรา ๘๐ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
                   (๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
                   (๒) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน ของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่าง ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการ สาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ และจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
                   (๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยน แปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                   (๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่า เทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
                    (๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ
                    (๖) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับความเห็นชอบจาก  การลงประชามติขอประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
- รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2550        
ตามรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนเอง  ภริยา  และบุตรทุกคน
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550 กำหนดให้องค์กรวุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริต
- การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ใช้อำนาจปกครองประกอบด้วยหลักสำคัญ คือ การรวมอำนาจ การแบ่งอำนาจ และการกระจายอำนาจ
- ปัจจุบันประเทศไทยมีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง 20 กระทรวง
- ส่วนราชการใดทีไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง คือ ราชบัณฑิตยสถาน,สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
- การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่น กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
- เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
- รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย

เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงโครงสร้างการปกครองประเทศ ใช้ปกป้องคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของเราจากการละเมิดสิทธิของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ หรือแม้แต่จากการกระทำโดยประชาชนคนอื่น ๆ ด้วยกันเองหลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพจะช่วยทำให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับใช้เป็นหลักหรือแนวทางในการดำเนินชีวิต ทำให้การดำรงชีวิตมีกฎระเบียบและขอบเขตที่ใช้ในการปฏิบัติตนในสังคม ดังนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะ ต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

ดิฉันคิดว่ารัฐธรรมนูญสามารถที่จะแก้ไขได้ เพื่อความเสมอภาคกันทุกฝ่าย แต่ต้องดูความเหมาะสมในสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการแก้ไข ว่ามีประโยชน์แก่ทุกฝ่ายหรือไม่ เหมาะสมมากน้อยเพียงใด รัฐบาลได้ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เพราะว่า ประการแรก รัฐธรรมนูญเป็น ปัจจัยหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม รัฐธรรมนูญจะเป็นกลไกในการลดความขัดแย้งในสังคมไทยได้ในระดับหนึ่ง  หากพิจารณาเนื้อหาของรัฐธรรมนูญจะเห็นว่า มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงโดยตรงกับการกำหนดโครงสร้างของสังคมผ่านมิติทาง การเมืองการปกครองดังนั้น การออกแบบรัฐธรรมนูญ (Constitutional Design) จึงมีความสำคัญยิ่ง กล่าวคือ สังคมจะเป็นเช่นไร จะมีความขัดแย้งมากหรือน้อยเท่าใด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการวางโครงสร้างของสังคมผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญ  
ประการที่สอง คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงเวลานี้เหมาะสมและสามารถกระทำได้ ที่ผ่านมาหลายท่านมักโต้แย้งว่า \"ปัญหาปากท้องชาวบ้านสำคัญกว่า แก้ไขไปแล้วชาวบ้านก็ไม่ได้อะไรนอกจากนี้ ในแง่ เงื่อนเวลายังเหมาะสมเพราะประเทศอยู่ในสภาวะปกติ มิได้อยู่ภายใต้การปกครองโดยระบอบเผด็จการ หรือการปกครองโดยทหารเมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย จึงเหมาะสมและไม่ขัดแย้งต่อหลักการแต่อย่างใดในการดำเนินกระบวนการแก้ไข เพิ่มเติมกติกาสูงสุดของสังคม ประการสุดท้ายคือรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังคงมีปัญหาในเชิงหลักการว่าด้วย ความเป็นรัฐธรรมนูญที่แท้จริง ปัญหาในเชิงหลักการที่สำคัญมากประการหนึ่งสำหรับรัฐธรรมนูญไทย (ทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับก่อนๆ) ซึ่งไม่ค่อยที่จะมีการพูดถึงมากนักก็คือ รัฐธรรมนูญขาดความชอบธรรมในการเป็นรัฐธรรมนูญ (Illegitimate Constitution) อันส่งผลให้ไม่ได้รับการยอมรับนับถือ ปฏิบัติตาม หวงแหนประเด็นดังกล่าวมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับการดำรงคงอยู่และความศักดิ์สิทธิ์ ของรัฐธรรมนูญในสังคมด้วย 
               ส่วนสาเหตุที่ประชาชนบางกลุ่มมีการคัดค้านเนื่องมาจากต่างคน ต่างฝ่ายต่างมีความคิดและเหตุผล และความต้องการและจุดประสงค์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่แตกแยก แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญเป็นกติกาของสังคมที่สังคมตกลงกันว่าช่วงเวลานี้ จะใช้กติกานี้ และหากว่าเสียงส่วนใหญ่ของสังคมเห็นว่าควรมีการแก้ไขใหม่ มันก็ย่อมแก้ไขได้ แนวคิดใดที่เสียงส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าต้องแก้ไข ก็ต้องแก้ไขไปตามเสียงส่วนใหญ่ และหากในอนาคต เสียงส่วนใหญ่เห็นว่าต้องแก้ไขอีก ก็ต้องเป็นไปตามเสียงส่วนใหญ่

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว  

               การปกครองประเทศ อำนาจทั้ง 3อำนาจ จะต้องมีความสมดุลกันซึ่งกันและกัน แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ ก็เกิดปัญหามากมายที่ส่งผลกระทบในการปกครองประเทศจนทำให้ในบางครั้งก็เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง ส่งผลไปสู่ภาวะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน และเนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา   ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลจึงเป็นไป ตามหลักการ ของประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งมองเห็นว่าอำนาจทั้ง 3  ยังคงมีความมั่นคงที่จะรักษาเสถียรภาพต่อบ้านเมืองให้ดำรงอยู่อย่างสงบสุข และทำหน้าที่ได้ดีด้วย เพราะปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองยังคงต้องอาศัยอำนาจเหล่านี้เพื่อเป็นหลักสำคัญในดำรงอยู่ของความมั่นคงของประเทศ ทั้งเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ที่สงบสุขของประชาชน อยากให้ทั้ง 3 สภาตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องไม่เอนเอียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อนึกถึงประโยชน์และความสุขส่วนรวมให้มากที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1 คำนิยามเกี่ยวกับกฏหมาย




       กฎหมาย  
   คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย  เมื่อไม่ทำตามต้องรับโทษ
     สิทธิ 
 อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้ โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
     สถานศึกษา 
คำนิยาม สถานพัฒนาเด็กประถมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน สถาบัน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาอื่น หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
      การศึกษา  
การเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยกระบวนการถ่ายทอดการเรียนรู้ การฝึก การอบรม การสืบสารวัฒนธรรม การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุน ให้บุคคลเรียนรู้ตลอดชีวิต
      นโยบาย  
แนวทางหรือกรอบที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือปฎิบัติให้บรรลุเป้า หมายตามต้องการ 
     คำกล่าวโทษ
การที่บุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้เป็นผู้กล่าวหรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นโดยจะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่รู้ก็ตาม 
     แจ้งความเท็จ

การนำเอาข้อเท็จจริงมาแจ้งต่อเจ้าพนักงาน โดยอาจแจ้งความด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ตาม ไม่ว่าการแจ้งนั้นจะมาแจ้งโดยตรงหรือแจ้งโดยการตอบคำถามของเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ ผู้แจ้งจะต้องรู้ว่าข้อความที่ตนแจ้งนั้นเป็นเท็จ ถ้าผู้แจ้งไม่รู้ว่าข้อความนั้นเป็นเท็จก็ไม่มีความผิด
    นิติกรรมอำพราง

การทำนิติกรรมขึ้นสองอย่าง อย่างหนึ่งทำขึ้นโดยมีเจตนาเพียงเพื่อปกปิดหรืออำพรางนิติกรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ต้องการให้เป็นที่เปิดเผย ผลในทางกฎหมาย นิติกรรมอย่างแรกจะเป็นโมฆะ เพราะเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างคู่กรณี ส่วนนิติกรรมอย่างหลังที่ถูกอำพรางไว้จะมีผลในทางกฎหมาย
    ความผิดหลายบท

การกระทำที่เป็นกรรมเดียวแต่เป็นความผิดตามกฎหมายหลายบท ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมายบทที่หนักที่สุด เช่น เอาหินขว้างใส่บ้านจนกระจกแตก และหินไปโดนคนในบ้านกะโหลกแตกตายอีกด้วย เป็นการทำผิดกฎหมายสองบทคือ เจตนาทำให้เสียทรัพย์ และฆ่าคนตาย เช่นนี้ผู้กระทำต้องรับโทษฐานฆ่าคนตาย ซึ่งมีโทษหนักกว่า 
    โดยทุจริต 
เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น 
    เอกสาร 
กระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่ได้ถูกบันทึก หรือทำให้ปรากฏด้วยการเขียน พิมพ์ ถ่ายรูป บันทึก หรือวิธีอื่นใด ให้ปรากฏเป็นข้อมูล ข่าวสาร ตัวเลข แบบ แผนผัง หรือสัญลักษณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดความหมายเพื่อการสื่อสารเกิดความเข้าใจได้ 
    สาธารณสถาน   
สถานที่ใดๆซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ดังนั้นความหมายของที่รโหฐาน จึงหมายถึงสถานที่ใดๆที่ประชาชนไม่มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้  เช่น เคหสถาน  เป็นต้น



    อ้างอิง
กลุ่มผู้หญิงกับสันติภาพ.(2550).คำศัพท์ทางกฎหมาย.(ออนไลน์).สืบค้นจากhttps://sites.google.com.[ 10 พฤศจิกายน 2555].
Jan SAN.(2551). ศัพท์ทางกฎหมาย.(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://blog.eduzones.com/cazii/82767.[ 11 พฤศจิกายน 2555]



   
  

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กฏหมายการศึกษา



                                                     



                 กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งมีสาระสำคัญที่     ควรรู้และทำความเข้าใจ ดังนี้ 

1. จุดมุ่งหมายและหลักการ
           เนื่องจากมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จะส่วนพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ดังนั้น การศึกษาจึงมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้คนในชาติมีความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อไป รัฐจึงต้องลงทุนด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติขึ้นมาทดแทนผู้ใหญ่ที่จะอ่อนกำลังลงในอนาคต ประเทศชาติจึงต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาการศึกษา สำหรับการจัดการศึกษาของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยมุ่งเน้นให้คนในสังคมมีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของชาติ


2. หน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษา

            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้รัฐจะต้องดำเนินการทางด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน ดังนี้
            1) รัฐต้องจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยให้เด็กและเยาวชนในชาติมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการเข้ารับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
           2) รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมต้องจัดให้มีการสื่อสารและการเรียนรู้ สำหรับผู้ที่มีร่างกายพิการ ทุพพลภาพ บุคคลที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ บุคคลที่ไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส


3. สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
            บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานจนอายุสิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ ตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตลอดจนให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว


4. รูปแบบการจัดการศึกษา
             1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาืที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา การวัด และการประเมินผลอันเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ได้แก่ การเรียนการสอนในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆทั้งของรัฐและเอกชน
             2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิีธีการจัดการศึกาา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและปรเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
             3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เปิดโอกาศให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยอาศัยจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งเรียนรู้ เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพของสถาบันแรงงานต่าง ๆ การอบรมวิชาชีพในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน การอบรมภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ตามสถาบันต่าง ๆ เป็นต้น

5. แนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          การจัดการศึกษาทุกรูปแบบจะเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ แบะพัฒนาตนเองได้ โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ด้วยเหตุนี้ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ



ที่มา : 
ไพศาล ภู่ไพบูลย์. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม . พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำตนเอง












          


  


My name is Onsuda Doksano. 
My nick name is Aon.
I studying English major 
at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.
I congratulated from Saothongwittaya school.I wanna be good English teacher in the future.







ปรัชญาสอนใจ :  " ทำทุกวันให้เหมือนกับว่า ไม่มีวันพรุ่งนี้ "